วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบริการบนอินเตอร์เน็ต





จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ อีเมล์ (E-Mail)
         เรียกย่อว่า E-Mail (อีเมล์) คือการส่งจดหมายทางคอมพิวเตอร์โดยผู้ส่งจะต้องพิมพ์ข้อความ โดยอาจแนบรูปภาพ ไฟล์เสียง หรือไฟล์วิดีโอ ไปกับจดหมายก็ได้ จดหมายจะถูกส่งถึงปลายทางอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วินาที และเข้าไปรอในตู้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อผู้รับมาเปิดตู้จดหมายก็สามารถอ่านจดหมาย ดูเอกสารแนบ และพิมพ์ข้อความตอบจดหมายกลับมาได้สะดวกและรวดเร็ว ผู้รับและผู้ส่งไม่จำเป็นต้องออนไลน์ในขณะเดียวกัน
       การรับ-ส่งข้อความ (รวมทั้งรูปภาพ เสียง วิดีโอ) ในลักษณะจดหมาย  โดยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเส้นทางในการรับ - ส่ง
ใช้เวลาในการรับ/ส่งไม่นาน (หน่วยเป็นนาที)
     การใช้ E-Mail จะต้องมี E-Mail Address  เพื่อระบุปลายทางในการรับ-ส่ง ลักษณะเดียวกับชื่อ-ที่อยู่ในการส่งจดหมายปกติ   การส่งอีเมล์สามารถสำเนาจดหมายส่งให้หลาย ๆ คนพร้อมกันได้ (CC) ทำสำเนาลับได้ (Bcc) สามารถแนบเอกสารต่าง ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ไปด้วยได้ (Attachments)  ซึ่งก็จะทำให้ผู้รับสามารถรับเอกสารทั้งหมดแล้วทำการตอบจดหมาย (Reply) จดหมายต่อ (Forward) หรือลบทิ้งได้(Delete)                                                 
               การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลาหลักการทำงานของอีเมลล์ก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลล์แอดเดรส (E-mail address) องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
        1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
        2. ชื่อโดเมน      Username@domain_name      
การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
        1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น jatuporn@pibul.ac.th คือ e-mail  ของครูโรงเรียนพิบูลวิทยาลัยเป็นต้น
        2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail  และ Chaiyo Mail 

ด้านรับส่งข่าวสาร
อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address)  
1.  ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กรก็ได้
2.  ส่วนนี้คือเครื่องหมาย @ (at sign) อ่านว่า "แอท"
3.  ส่วนที่สามคือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
4.  ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailandอยู่ในประเทศไทย

องค์ประกอบของอีเมล์
  กล่องจดหมายขาเข้า (Inbox) เป็นพื้นที่ในการเก็บจดหมายที่บุคคลอื่นส่งมาหาเรา 
กล่องจดหมายออก (Outbox) เป็นพื้นที่สำหรับเก็บสำเนาของจดหมายที่เราส่งไปถึงผู้อื่น
 กล่องจดหมายขยะ (Junk mail หรือ Spam) เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บจดหมายที่ผู้ส่งโฆษณาหรือผู้ที่เราไม่รู้จักส่งมาให้
 กล่องจดหมายร่าง (Draft) สำหรับเก็บจดหมายที่ยังเขียนไม่เสร็จ
ถังขยะ (Trash) เป็นที่เก็บจดหมายที่ถูกลบทิ้งแล้ว

ข้อควรระวังในการใช้อีเมล์
     เว็บไซต์ลามกเป้แหล่งเผยแพร่ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด เราจึงไม่ควรไปเขียนอีเมล์ทิ้งไว้ในเว็บไซต์ลามกและเว็บไซต์อื่น ๆ โดยไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัส หรือแอบแฝงมาทางอีเมล์ที่ส่งมาให้
      อีเมล์จากคนที่ไม่รู้จัก อีเมล์โฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ เช่น ชวนหารายได้พิเศษ ขายผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ขายยาไวอาก้า ฯลฯ เรียกว่า Spam หรือ Junk Mail นอกจากก่อความรำคาญแล้ว ยังอาจมีไวรัสติดมาด้วยได้ หลีกเลี่ยงการอ่านเมล์ขยะ และการเปิดไฟล์แนบไม่ควรเปิดอีเมล์จากบุคคลที่ไม่รู้จัก เพราะอาจทำให้เครื่องติดไวรัสคอมพิวเตอร์ได้ไม่ควรโต้ตอบอีเมล์กับคนแปลกหน้า เพราะอาจถูกหลอกถามข้อมูลส่วนตัว หรือถูกสอดแนมโดยโปรแกรมนักสืบที่แอบแฝงมาด้วยไม่ควรเขียนข้อมูลส่วนตัว ความลับ หรือส่งรูปภาพส่วนตัวไปทางอีเมล์


 บริการด้านการติดต่อสื่อสาร 
     Telnet  การขอเข้าระบบจากระยะไกล   เป็นการให้บริการทางไกล (Remote)  คือทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเป็นเครื่องลูกข่าย (Client) ของคอมพิวเตอร์หลัก (Host) ทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมและข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์หลักได้ เช่นเราทำงานที่โรงเรียน เมื่อกลับไปบ้านก็เรียกข้อมูลจากเครื่องที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้เหมือนกับทำอยู่ที่โรงเรียน
          Telnet เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันคล้ายกับการโทรศัพท์เข้าไปที่เครื่อง โดยซอฟท์แวร์ที่ใช้ต้องเป็น Client ของ Telnet      The Internet Telephone และ The Videophone เพื่อประชุมทางไกล หรือใช้ในการเรียนการสอนทางไกล
                                          
 บริการการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล 
     FTP การถ่ายโอนข้อมูล
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocalเป็นบริการส่งถ่ายแฟ้มข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถ Copy หรือ Download โปรแกรมจากผู้ให้บริการ ซึ่งเรียกว่า FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ได้ ถ้านำไฟล์จากเครื่องผู้ใช้ขึ้นไปยัง Server เรียก Uploadการนำไฟล์จาก Server มายังเครื่องของผู้ใช้เรียก Download
                                       
 บริการค้นหาข้อมูล 
 บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต  สามารถสืบค้นได้ 3 วิธี ดังนี้ 
1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
2. Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการMetasearch เช่น www.search.com,www.thaifind.com
                               
บริการข้อมูลมัลติมีเดีย
WWW การสืบค้นข้อมูล
WWW  ย่อมาจาก World Wide Web  เป็นแหล่งเก็บข้อมูลในลักษณะข้อความ  ภาพ  และเสียง ซึ่งมีรูปแบบการนำเสนอที่เรียกว่า  Web page โดย ข้อมูลในแต่ละส่วนสามารถเชื่อมโยง (Link) ไปยังแหล่งข้อมูลส่วนอื่นได้ เปรียบเสมือนใยแมงมุม(WEB)

    Web page
คือการนำเสนอข้อมูลต่างๆ มากมายในลักษณะหน้ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์
 Home page  คือหน้าแรกของ Web page
Web Site  คือการเว็บเพจมารวมกันในแหล่งเดียวกัน
Web Browser และการแสดงผลข้อมูล
Web Site
เว็บไซต์  คือเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสามารถให้บริการ ที่เรียกว่า WWW (World Wide Web)  แก่คอมพิวเตอร์ทั่วไป การเรียกบริการต้องระบุที่อยู่ของเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า URL
URL  :  Uniform Resource Locator  
   เช่น http://www.hotmail.com   เป็นต้น

  • §         Archieอาร์คี
               ผู้ใช้บริการจะทำตัวเสมือนเครื่องลูกข่ายที่เรียกเข้าไปใช้บริการของ Archie Server ซึ่งจะเสมือนกับได้ดูว่าสถานที่ซึ่งมีข้อมูลที่ตนต้องการอยู่ที่ใดก่อน จากนั้นจึงเรียกค้นไปยังสถานที่นั้นโดยตรงต่อไป
  • §         Gopherโกเฟอร์
               เป็นบริการค้นหาข้อมูลแบบตามลำดับชั้น ซึ่งมีเมนูให้ใช้งานได้สะดวก โปรแกรม Gopher นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยมิเนโซตา ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบเป็นฐานข้อมูลที่กระจายกันอยู่หลายแห่งแต่มีการเชื่อมโยงถึงกันเป็นขั้นๆ
  • §         Hytelnet
               เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้หาชื่อโฮสต์และชื่อ Login พร้อมคำอธิบายโดยย่อของแหล่งข้อมูลที่ต้องการได้ด้วยการใช้งาน แบบเมนู เมื่อได้ชื่อโฮสต์ที่ต้องการแล้วก็สามารถเรียกติดต่อไปได้ทันที แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ของบริการ Hytelnet นี้มักจะเป็นชื่อที่อยู่ของห้องสมุดต่างๆ ทั่วโลก
  • §         WAISเวส(WideAreaInformationSevers)
                เป็นบริการที่มีลักษณะเป็นศูนย์ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลและดัชนีสำหรับค้นหาข้อมูลจำนวนมากเอาไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในการค้นหาเมื่อเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลนั้น และยังมีการเชื่อมโยงกันไปยังศูนย์ข้อมูลอื่นอีกปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูลแบบ WAIS ให้ค้นหาได้หลายที่

Use Net การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น
  UseNet    ย่อมาจาก User Network เป็นการแบ่งข่าวสารเป็นกลุ่มย่อย ๆ เก็บไว้ใน News Server ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ต ที่ทำหน้าที่เก็บข่าวสารต่าง ๆที่ผู้ใช้ส่งมาเรียกกลุ่มข่าวสารนี้ว่า News Group และเรียกข่าวที่ส่งมาว่า Article
นิวส์กรุ๊ป (Newsgroup) หรือยูสเน็ต (UseNet)
เป็นบริการที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ข่าวสารข้อมูลของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนปัญหาข้อสงสัยข่าวสารต่าง ๆ กลุ่มเหล่านี้จะมีสารพัดกลุ่มตามความสนใจ โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ คือ โปรแกรม Netscape News ที่อยู่ใน โปรแกรม Netscape Navigator Gold 3.0 เมื่อเปิดโปรแกรมดังกล่าว จากนั้นรายชื่อของกลุ่มสนทนาจะปรากฏขึ้นให้ท่านเลือกอ่านตามใจชอบ
ตัวอย่างกลุ่มข่าว
alt (Alternative) หัวข้อทั่ว ๆไป   biz(Business)หัวข้อธุรกิจ   com(Computer)หัวข้อด้านคอมพิวเตอร์   k12หัวข้อเกี่ยวกับการศึกษา                                     

IRC  การสื่อสารด้วยข้อความ

IRC  ย่อมาจาก Internet Relay Chat 
เป็นการให้บริการสนทนาระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์โดยอาศัยการพิมพ์ข้อความทางแป้นพิมพ์ แทนการพูดด้วยคำพูด ทำให้คนทั่วโลกสามารถสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น    โปรแกรมที่นิยมมากคือ ICQ,  PIRCH, NetMeeting, I-Phone,MSN
สนทนาแบบออนไลน์ (Chat)
            ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัยโปรโตคอลช่วยในการติดต่ออีกโปรโตคอลหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า IRC (Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็นโปรโตคอลอีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time โดยจะมีหลักการคือ มีเครื่อง Server ซึ่งจะเรียกว่าเป็น IRC server ก็ได้ซึ่ง server นี้ก็จะหมายถึงฮาร์ดแวร์+ซอฟแวร์โดยที่ฮาร์ดแวร์คือ คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นจะต้องมีทรัพยากรระบบค่อนข้างสูงและจะต้องมีมากกว่า 1 เครื่องเพื่อรองรับ User หลายคน เครื่องของเราจะทำหน้าที่เป็นเครื่อง Client ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แบบธรรมดา โดยที่ไม่ต้องการทรัพยากรมากนัก และก็ต้องมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อเข้า Irc server ได้
         การสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีหลายโปรแกรมเช่น โปรแกรม Pirch, ICQ, Windows Messenger (MSN), Yahoo Messenger
                          
บริการซื้อ-ขายสินค้าและบริการ     (E-Commerce)
เป็นการจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ   เช่น   การซื้อ–ขาย หนังสือ
คอมพิวเตอร์  บริการการท่องเที่ยว ฯลฯ   และปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจบริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง   ซึ่งในปี   2540
ที่ผ่านมา การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านบาท

การให้บริการทางด้านความบันเทิง
                 การให้บริการทางด้านความบันเทิง สามารถหาได้หลากหลายบนอินเทอร์เน็ต โดยในแต่ละเว็บไซต์จะมีสิ่งเหล่านี้ให้กับผู้ใช้บริการ หรือผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้เข้าไปสัมผัส บางเว็บไซต์ก็เป็นเว็บที่ให้บริการด้านความบันเทิงโดยตรงก็มี ซึ่งการให้บริการบันเทิงบนอินเทอร์เน็ตได้แก่ การให้บริการหนังสือนิตยสารทางด้านแฟชั่นออนไลน์ การให้บริการดูหนังฟังเพลง การให้บริการเกมออนไลน์   การให้บริการแหล่งชุมนุมของวัยรุ่น และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่มีให้สำหรับความบันเทิงที่ไร้ขีดจำกัด  บนอินเทอร์เน็ต
-  การให้บริการหนังสือนิตยสารทางด้านบันเทิงและแฟชั่นออนไลน  
                ผู้ใช้สามารถที่จะเข้าไปอ่านหนังสือ วารสาร หรือนิตยสารได้  ซึ่งในปัจจุบันนี้มีบริษัทที่ผลิตสิ่งพิมพ์จำนวนมาก จัดทำนิตยสารออนไลน์ โดยมีเนื้อหาที่เป็นทั้งภาษาไทยและอังกฤษ หรือภาษาอื่น ๆ ไว้บริการแก่ผู้ใช้มากมาย 

-  การให้บริการดูหนังฟังเพลง  
                 บนอินเทอร์เน็ตนั้นผู้ใช้สามารถที่จะฟังเพลงจากสถานีวิทยุต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ และยังชมการถ่ายทอดโทรทัศน์ได้อีกด้วย แต่คุณภาพของเสียงที่ได้รับจะไม่เท่ากับปกติ ซึ่งในด้านคุณภาพจัดได้ว่าเป็นที่น่าพอใจสำหรับผู้ใช้บริการ
 -  การให้บริการเกมออนไลน์  
                บนอินเทอร์เน็ตนั้นมีเว็บไซต์มากมายที่มีเกมให้บริการเล่นฟรี  โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้สามารถเข้าไปเล่น หรือทดลองเล่นได้ หลังจากนั้นหากสนใจสามารถที่จะสั่งซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตได
 -  การให้บริการแหล่งชุมนุมของวัยรุ่น  
                การให้บริการแหล่งชุมนุมของวัยรุ่นนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับวัยรุ่นไว้ในเว็บไซต์ และมีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น

บริการ E – Learning (Electronic Learning)
 คือบริการทางด้าน ICT    (Information and  Communication Technology) เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ในการจัดการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ และการอบรม ต่าง ๆ

           
บริการเวิลด์ไวด์เว็บ และเว็บบราวเซอร์     (World   Wide   Web)    หรือเครือข่ายใยพิภพ
 เป็นบริการหนึ่งที่ทำให้อินเตอร์เน็ตร้อนแรงที่สุดในยุคนี้ และไม่มีใครเกิน บริการเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นตัวสร้างภาพที่สวยสดงดงาม พร้อมสรรพด้วยข้อมูลหลากหลายประเภท อาทิเสียง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ นำเสนอรวมในหน้าเอกสารเดียวกัน

ข้อดี - ข้อเสีย ของอินเตอร์เน็ต

 อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารสารสนเทศ เปรียบเสมือนชุมชนแห่งใหม่ของโลก ซึ่งรวมคนทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน จึงทำให้มีบริการต่างๆ เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีทั้งข้อดีที่เป็นประโยชน์และข้อจำกัดบางประการ   ดังนี้

ข้อดีของอินเทอร์เน็ต
          อินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลาย   ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากมาย ดังต่อไปนี้

  1. ค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ฯลฯ ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
  2. ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างๆ อยู่ รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆ ได้ฟรีโดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบด้วย
  3. รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณียากร ถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเหมือนการส่งจดหมาย การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย
  4. สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียง
  5. ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้นๆ
  6. ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพ และเสียงจากที่อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ได้จากแหล่งที่มีผู้ให้บริการ
  7. ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งบริการต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้างสรรพสินค้า
  8. ให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ   เช่น  การฟังเพลง รายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมไปถึงการแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก  
  9. ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง
  10. ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน
ข้อจำกัดของอินเทอร์เน็ต
          ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้มากมาย   แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ   ดังต่อไปนี้

  1. อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนจึงสามารถสร้างเว็บไซด์หรือติดประกาศข้อความได้ทุกเรื่อง บางครั้งข้อความนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรับรอง เช่น ข้อมูลด้านการแพทย์หรือผลการทดลองต่างๆ จึงเป็นวิจารณญาณของผู้อ่านที่จะต้องไตร่ตรองข้อความที่อ่านนั้นด้วยว่าควรจะเชื่อถือได้หรือไม่
  2. นักเรียนและเยาวชนอาจติดต่อเข้าไปในเว็บไซด์ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจยั่วยุอารมณ์ ทำให้เป็นอันตรายตัวตัวเองและสังคม

มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต

 อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ

1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย
  • ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
  • ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
  • ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา
  • เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
  • ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ
ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย
  • เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
  • เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
  • ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
  • ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
  • ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
  • ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
  • ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
  • ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
  • ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
  • ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
  • ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
  • ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
  • ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
  • ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
  • ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
  • ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

ภัยใกล้ตัวบนอินเตอร์เน็ต



ภัยร้ายใกล้ตัวบน 'อินเทอร์เน็ต' ระวังเดิน ซ้ำรอยปัญหาสังคม



         เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ทุกชนิดเมื่อมีประโยชน์ต้องมีโทษ โดยเฉพาะกับเทคโนโลยี “อินเทอร์เน็ต” ที่เป็นเรื่องยากต่อการเข้าใจให้ถ่องแท้ในระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้น ผู้ใช้งานต้องมีความสนใจและใฝ่รู้อย่างจริงจัง มิฉะนั้น อาจ จะเกิดความเข้าใจไม่ถูกต้องแล้วนำไปใช้งานแบบผิดๆ
แต่ถ้าหากจะคิดจากพื้นฐานความเป็นจริงในโลกยุคปัจจุบันแล้ว อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่คนไทยและคนทั่วโลกหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาและประโยชน์ก็มีมากมายเกินกว่าที่จะนำเอาโทษของมันมาเป็นข้ออ้างในการใช้งาน และจำกัดเสรีภาพการสื่อสารบนเครือข่ายไร้พรมแดนเช่นนี้     
ด้วยเหตุนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ในฐานะหน่วยงานผู้มีหน้าที่ส่งเสริมและควบคุมการให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจึงจัดการสัมมนาในหัวข้อ “ภัยทางอินเทอร์เน็ตและการสื่อสาร: ภัยร้ายสายพันธุ์ใหม่ในสังคมไทย” ขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้

       นางมณีรัตน์ ผลิพัฒน์ รองปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวถึงปัญหาภัยทางอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารว่า ในยุคปัจจุบันมีผู้ก่ออาชญากรรมผ่านอินเทอร์เน็ตรูปแบบต่างๆ มากขึ้น เช่น การล่อลวงผ่านแชทรูม เกมออนไลน์และอีเมล์ขยะ เพราะสามารถดึงดูดลูกค้ามากมายและก่อให้เกิดรายได้มูลค่ามหาศาล และที่สำคัญ คือ เป็นการประกอบธุรกิจประเภทหนึ่งที่ความผิดและผู้กระทำผิดไม่อาจถูกติดตามมาลงโทษได้โดยง่าย
“ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมักคิดว่า ไม่มีอะไรต้องกังวลในเรื่องความปลอดภัย จึงไม่จำเป็นต้องป้องกันตัวเองจากภัยบนอินเทอร์เน็ต แต่ลืมคิดไปว่า อาชญากร หรือ ผู้ประสงค์ร้ายก็อาจใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ที่ทันสมัยเป็นเครื่องมือก่อให้เกิดความเสียหาย หรือ อันตรายต่อชีวิต ร่างกายและจิตใจผู้เสียหายและครอบครัวโดยง่าย ทำให้วันนี้ จะมารอให้แต่ภาครัฐแก้ปัญหาฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะคงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ” รองปลัด ไอซีที กล่าว
จากประสบการณ์ทำงานส่งเสริมและควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต นางมณีรัตน์ ยืนยันว่า ความก้าวหน้าอินเทอร์เน็ตและความฉลาดของอาชญากรบนอินเทอร์เน็ตสร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้แก่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยว ข้อง ดังนั้น จึงจำเป็นที่สังคมจะต้องร่วมกันสอดส่องดูแลและช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบภายใต้ข้อเสนอแนะของผู้บังคับใช้กฎหมายและผู้มีประสบการณ์ด้านไอซีที
ด้าน พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สะท้อนสภาพปัญหาภัยบนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากมุมมองของผู้บังคับใช้กฎหมายว่า ปัญหาดังกล่าว ไม่ใช่ปัญหาด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังถือเป็นปัญหาทางสังคม เพราะทำให้ผู้ที่ถูกภัยบนอินเทอร์เน็ตคุกคาม โดยเฉพาะเด็กไม่สนใจการเรียน ขาดความรับผิดชอบและขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว   
ส่วนที่ว่า ปัญหาภัยบนอินเทอร์เน็ต เช่น เกมออนไลน์และแชทรูม มักเกิดขึ้นกับเด็กนั้น ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กล่าวว่า เป็นเพราะเด็กไทยส่วนใหญ่ไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ เพราะจากผลสำรวจและประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่จากหลายๆ ประเทศพบว่า ปัญหาลักษณะนี้ มีในประเทศไทยเท่านั้น เพราะเด็กในประเทศอื่นๆ แบ่งเวลาและแยกแยะว่า จะเล่นเกม หรือ แชทรูม เพื่อพักผ่อนและคลายเครียด
ภาวะเช่นนี้ เรื่องของการป้องกันและดำเนินคดีก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแสดงออกถึงการทำหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ แต่ พ.ต.อ.ญาณพล กล่าวว่า การดำเนินคดีทำได้ยากแม้จะรู้ว่า ใครและคอมพิวเตอร์เครื่องใดถูกใช้กระทำความผิด อีกทั้งคดีลักษณะนี้ มักเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานและที่สำคัญ คือ กฎหมายไทยตามไม่ทันทำให้ไม่มีกฎหมายด้านนี้ โดยตรง ดัง นั้น แนวทางที่ดีทีสุด คือ ทุกฝ่ายในสังคมต้องช่วยกัน  
ขณะที่ นายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข นักกฎหมายจากศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ให้ข้อมูลว่า จากสถิติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 มีการแจ้งคนหายมากกว่า 600 คน โดย 100% ของเด็กผู้ชายที่หายไปเชื่อว่า มาจากการติดเกมออนไลน์จนต้องผันตัวเองไปเกมร้านอินเทอร์เน็ตและเกม หรือ กลายเป็นเด็กเร่ร่อนเพื่อหารายได้มาเล่นเกม ซึ่งจากภาวะดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ภัยบนอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น
ทั้งนี้ ข้อมูลที่ในเรื่องที่ว่า ภัยบนอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นนั้น มีข้อมูลยืนยันจาก ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน นายกสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และนายกสมาคมอินเทอร์เน็ตนานาชาติ สาขาประเทศไทยและ ดร.จินตวีร์ มั่นสกุล อาจารย์ประจำวิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งมั่นใจว่า ภัยบนอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน
ศ.ดร.ศรีศักดิ์และดร.จินตวีร์ เปิดเผยว่า ในปี 2548 ที่ผ่านมา มีรายงานการแจ้งความเสียหายของอีเมล์จากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกมากถึง 11 ล้านฉบับและมีการโจรกรรมข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมากเป็นอันดับ 1 ถึง 81% ขณะที่แนวโน้มภัยบนอินเทอร์เน็ตในปี 2549 จะแฝงมาจากโปรแกรมสนทนาและการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง เช่น อีเมล์ขยะ ไวรัส แอดแวร์และการโจรกรรมข้อมูลต่างๆ  
สำหรับภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตที่เป็นภัยต่อกลุ่มเด็ก สตรีและประชาชนในประเทศไทย ศ.ดร.ศรีศักดิ์และดร.จินตวีร์ เปิด เผยว่า จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ เอแบคโพลล์ พบว่า เป็นเว็บลามกและเว็บพนันบนอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ประมาณ 4-5 ล้านเว็บไซต์ จากจำนวนเว็บไซต์ทั้งหมดประมาณ 8,000 ล้านเว็บไซต์ ตามมาด้วยการล่อลวง โดยเฉพาะเด็กและสตรีผ่านแชทรูม-อีเมล์และปัญหาเกมออนไลน์
เป็นอันว่า การสัมมนาเกี่ยวกับภัยทางอินเทอร์เน็ตก็ผ่านพ้นไปอีกครั้งหนึ่ง น่าเสียดายที่ประเทศไทยเรายังไม่มีข้อกฎหมาย หรือ มาตรการที่เป็นรูปธรรมชัดเจนว่า จะป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยทางอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีไหน อย่างไร แต่ที่แน่ๆ เรื่องนี้ ไม่ง่ายเพียงแค่จัดการสัมมนาและพูดว่า ให้ทุกส่วนในสังคมช่วยกันแล้วจบ เพราะมันยังมีเรื่องที่ต้องคิดคำนึงให้รอบคอบ เพื่อใช้สำหรับป้องกันและแก้ไขปัญหาให้รอบด้านต่อไป...

อันตรายจากการใช้อินเตอร์เน็ตในโรงแรม

การใช้อินเตอร์เน็ตภายในโรงแรมนั้นไม่ปลอดภัย 
จากผลการศึกษาของโรงเรียนสอนการโรงแรมของมหางิทยาลัยคอร์เนลล์พบว่านักท่องเที่ยว ผู้ซึ่งใช้อินเตอร์เน็ตภายในโรงแรมมีความเสี่ยงที่จะถูกขโมยข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง

การวิเคราะห์ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในครั้งนี้ ได้วิเคราะห์ในโรงแรมจำนวน 46 แห่ง และทำการแบบสำรวจในโรงแรมอีก 147 แห่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนมากแล้ว จากการสำรวจพบว่า โรงแรมเกือบจะทั้งหมด ไม่มีอุปกรณ์ที่ช่วยด้านรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้งานอินเตอร์เน็ต

จากตัวอย่างที่ได้สำรวจมาประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ของโรงแรมที่ถูกสำรวจใช้ ฮับหรืออุปกรณ์ในการปล่อยสัญญาณอินเตอร์เน็ตชนิดธรรมดา ซึ่งง่ายต่อการเจาะหรือขโมยข้อมูล และยิ่งไปกว่านั้น โรงแรมทั้ง 46 โรงแรมที่ได้วิเคราะห์นั้น ไม่ได้มีการสนับสนุนในด้านการรักษาข้อมูลของลูกค้าที่เข้ามาพัก

Josh Ogle ประธานบริษัท TriVesta LLC และผู้ช่วยของโครงการนี้ กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่าโรงแรม 39 แห่งที่ใช้ระบบ WiFi  หรือเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ในการเชี่อมต่อ และมีเพียง 6 แห่งเท่านั้นที่มีการตั้งรหัสในการเข้าใช้งานเครื่อข่ายเพื่อรักษาความปลอดภัย

Erica L Wagner ผู้ช่วยด้านระบบข้อมูลของโรงเรียนสอนการโรงแรม กล่าวว่า พวกเราได้รับการร้องเรียน จากแขกผู้ที่เข้ามาพักในโรงแรม เรื่องความเสี่ยงในการส่งข้อมูล เมื่อใช้ระบบอินเตอร์เน็ตของโรงแรม แต่อย่างไรก็ตาม พวกเราได้หาโรงแรมที่มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ที่เข้ามาพัก และแนะนำจุดที่สามารถแก้ไขระบบความปลอดภัยที่ไม่ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

ผลสรุปของการศึกษาในโรงแรม ดับเบิลยู ดันลาส วิเตอรรี ซึ่งไม่ใช้ขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย  โดยทำการติดตั้งเป็นแบบต่อสายแลนด์  Mark P.Talbert ผู้ช่วยอาวุโสด้านระบบข้อมูลของโรงเรียนสอนการโรงแรม กล่าว่า การเชี่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตโดยการใช้แบบสายแลนด์ แยกใช้ในแต่ละห้องอาจจะช่วยป้องกันขโมย อีกทั้งยังช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมของโรงแรมอีกด้วย เนื่องจากการจัดการของโรงแรมมีหลายส่วนที่ต้องดูแล และต้องมีค่าใช้จ่ายมาก แต่การบริการที่ดีที่สุดของลูกค้าเป้นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ในเมื่อหากหลีกเลี่ยงไม่ได้เราก็ควรที่จะใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างฉลาด คือถ้าไม่มั่นใจในความปลอดภัยของการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย ก็ไม่ควรที่จะกรอกข้อมูลที่เป็นความลับลงไป เป็นต้น

5 วิธีป้องกันตัวเองจากอีเมลขยะ

5 วิธีที่นิยมใช้ป้องกันตัวเอง จากฟิชชิ่ง และข้อความอี-เมลหลอกลวง 

          ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ประกาศแจ้งเตือนอี-เมลหลอกลวงให้หลงเชื่อว่าไมโครซอฟท์จะมอบเงินแก่ผู้ที่ ส่งอี-เมลจากไมโครซอฟท์ต่อให้เพื่อน เนื้อหาว่า "บริษัท ไมโครซอฟท์ ทำการสำรวจการตลาดผู้ที่ใช้ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตของไมโครซอฟท์ โดยแจกเงินให้กับผู้ส่งอี-เมลต่อไปให้เพื่อน" อย่างแพร่หลายต่อๆ กันไป



          ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ได้รับ อี-เมล ซึ่งไมโครซอฟต์ไม่มีนโยบายในการสำรวจข้อมูลหรือมอบเงินในลักษณะดังกล่าว แก่ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โซลูชั่นหรือโปรแกรมใดๆ หากผู้ใดได้รับอี-เมลนี้อย่าหลงเชื่อ หรือส่งต่อให้เพื่อนโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงหรือเสี่ยงต่อระบบรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ คำเตือนในการระมัดระวังฟิชชิ่ง และข้อความอี-เมลหลอกลวงพึงปฏิบัติเบื้องต้น


          ควรระมัดระวังอี-เมลที่ถามข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ที่ถามชื่อ วันเกิด หมายเลขประกันสังคม ชื่อผู้ใช้-รหัสผ่านอี-เมล หรือข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอื่นใดๆ ให้ถือเป็นการหลอกลวงเกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าอี-เมลนั้นจะส่งมาจากผู้ใดก็ตาม


          หากมีเหตุผลใดๆ ที่เชื่อได้ว่าอี-เมลดังกล่าวอาจถูกต้องตามกฎหมาย โปรดอย่าตอบกลับอี-เมลนั้น หรือคลิกไฮเปอร์ลิงค์ใดๆ แต่ให้ใช้การคัดลอกและวาง URL ของเว็บหรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของบริษัทเพื่อสอบถามข้อมูลแทน โดยเราควรติดต่อผ่านช่องทางการสนับสนุนของบริษัทเพื่อยืนยันความถูกต้องตามกฎหมาย


          ควรอ่านอี-เมลที่น่าสงสัยอย่างละเอียด อี-เมลที่ใช้คำไม่ถูกต้อง มีการพิมพ์ผิด หรือมีประโยค เช่น "นี่ไม่ใช่เรื่องตลก" หรือ "โปรดส่งต่อข้อความนี้ไปให้เพื่อนของคุณ" โดยทั่วไปจะถือว่าเป็นอี-เมลหลอกลวง บางครั้งชื่อบริษัทหรือแบรนด์อาจสะกดผิดหรือไม่ถูกต้อง เช่น ใช้คำว่า Windows Hotmail (แทนการใช้ Windows Live Hotmail)


          ควรเก็บรักษารหัสอี-เมลให้ดี กำหนดรหัสผ่านที่ไม่สามารถเดาได้ ใช้อักขระมากกว่า 7 ตัว และมีการใช้อักขระตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข และอักขระพิเศษ เช่น สัญลักษณ์ @ หรือ # ผสมกัน และควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ


          หากได้รับการแจ้งเตือนจากฝ่ายบริการลูกค้า Microsoft ซึ่งขอยืนยันคำขอของคุณในการเปลี่ยนรหัสผ่าน ดังที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และคุณยังไม่ได้เปลี่ยนรหัสผ่านของคุณ แสดงว่ามีผู้กำลังพยายามเข้าใช้บัญชี Hotmail ควรเปลี่ยนรหัสผ่านทันที โดยเข้าไปที่ http://account.live.com หรือใน Hotmail คลิกตัวเลือก และคลิกดูและแก้ไข ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ คุณจะได้รับพร้อมท์ให้ลงชื่อเข้าสู่ระบบอีกครั้ง เมื่อคุณดำเนินการ ให้มองหา "ข้อมูลการตั้งค่ารหัสผ่านใหม่" ใต้ชื่อของคุณที่ด้านบน เปลี่ยนทั้งรหัสผ่านและคำถามเฉพาะ/คำตอบเฉพาะของคุณ เนื่องจากข้อมูลทั้งสองอาจถูกเปิดเผย


          การดำเนินการหากคิดว่ามีผู้เข้าอี-เมล และลงชื่อ ID ดูไม่น่าไว้ใจ หรือได้รับอี-เมลน่าสงสัยซึ่งพยายามจะขอยืนยันการเปลี่ยนรหัสผ่านที่คุณไม่ได้อนุญาต ให้เปลี่ยนรหัสผ่านตัวเองทันที


          อีกทั้งให้ความร่วมมือในการแจ้งการหลอกลวงใหม่ หากใช้ Hotmail ก็สามารถเลือกรายการแบบหล่นลงที่อยู่ข้างๆ "อีเมลขยะ" แล้วเลือก "รายงานการหลอกลวงฟิชชิ่ง" อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญโปรดอย่าตอบกลับผู้ส่ง 

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อินเตอร์เน็ตกับคนไทย



อินเทอร์เน็ตกับคนไทย
อินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย เห็นได้จากหนังสือพิมพ์ วานสารรายการโทรทัศน์ วิทยุต่างๆ ได้นำเรื่องของอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่นำเสนอต่อสาธารณะในแง่มุมต่างๆ การเผยแพร่ข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตเริ่มมีมากขึ้น และในรูปแบบที่หลากหลายกว่าเดิม จึงทำให้มีผลกระทบต่อสังคมไทย ในหลายๆด้าน มีทั้งด้านดีและไม่ดี

ผลกระทบทางด้านดีของอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้คนที่ได้ศึกษาข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ ได้รับความรู้และข่าวสารในปัจจุบัน และสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน จึงทำให้ประชาชนในปัจจุบัน มีความรู้มากกว่าคนสมัยก่อน เพราะสามารถหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์และทันสมัย โดยมีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกรวดเร็ว ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
ส่วนผลกระทบทางด้านไม่ดีของอินเทอร์เน็ตนั้นเกิดจากการที่เยาวชน ได้รับข้อมูลหรือภาพในทางที่ไม่ดี และไม่ใช้วิจารณญาณในการตัดสิน โดยเลือกที่จะรับรู้ในทางที่ตนเองคิดว่าถูก จึงเป็นโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ไม่ดี โดยเรียนรู้จากสิ่งที่เห็น การได้รับข้อมูลข่าวสารอาจจะไม่เสมอภาคกัน เช่น คนอยู่ที่ชนบทอาจไม่ทราบข่าวบางเรื่อง เนื่องจากไม่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่มีการเรียนการสอนให้ใช้สื่อทางด้านคอมพิวเตอร์
การใช้อินเทอร์เน็ตนั้นมีทางด้านดีและไม่ดี หากจะมองในแง่ดี การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้ใช้ได้สามารถรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็วตามที่ต้องการ อีกทั้งยังมีความสะดวกสบายอีกด้วย นักเรียนและนักศึกษายังสามารถใช้อินเทอร์เน็ต ในการหาข้อมูลความรู้สิ่งต่างๆเข้ามา จึงทำให้อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากในด้านการศึกษาปัจจุบัน
ในปัจจุบันสื่อเทคโนโลยีที่เราเรียกกันว่า คอมพิวเตอร์นั้นก็นำพาสิ่งไม่ดีแฝงมากับอินเทอร์เน็ตมาก ถ้าผู้รับไม่ใช้ความรู้ในการตัดสิน เลือกที่จะรับข้อมูลทุกอย่างที่เห็นและฟัง อาจจะเกิดจากพัฒนาการความรู้ยังมีไม่เพียงพอ โดยควรมีผู้ปกครองคอยให้คำแนะนำอยู่เสมอ ส่วนการที่คนบางส่วนอาจจะได้รับข้อมูลข่าวสารได้ไม่เท่ากัน เนื่องจากไม่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพราะยังขาดการเรียนรู้ทางด้านสื่อเทคโนโลยีที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
อินเทอร์เน็ตได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ในการใช้อินเทอร์เน็ต มีทั้งด้านที่ดีและด้านที่ไม่ดี ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ใช้สื่อว่าจะเลือกรับสิ่งใด ซึ่งการใช้อินเทอร์เน็ตควรระมัดระวัง และต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงสื่อๆหนึ่งที่เหมือนกับสื่อทั่วๆไป หากจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าใช้ในทางที่ถูกต้องแล้วหรือไม่

เด็กไทยกับภัยอินเตอร์เน็ต

*เด็กไทยกับภัยอินเทอร์เน็ต* อินเทอร์เน็ตเป็นคลังแห่งข้อมูลและเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั่วโลก การใช้อินเทอร์เน็ตนั้นก่อประโยชน์มหาศาล แต่ก็แอบแฝงไปด้วยภัยอันตรายต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก ค่านิยมผิด ๆ ในเรื่องเพศ การล่อลวงในวงสนทนา นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยเรื่องลามก และเรื่องรุนแรงต่าง ๆ ที่ยากต่อการที่จะควบคุมตรวจสอบได้ อาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตเหล่านี้เป็นภัยที่อันตรายมากพอที่จะกำหนดเส้นทางอนาคตของเด็กได้ ดังนั้น ก่อนที่เด็กไทยเราจะตกเป็นเหยื่อของภัยเหล่านี้ พ่อแม่ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจภัยอันตรายต่าง ๆ /อินเทอร์เน็ตอันตรายต่อเด็กอย่างไร/ /ความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์/ -เปิดรับสิ่งที่ไม่เหมาะสม -การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และการทำร้ายร่างกาย -ถ้อยคำรุนแรง -สิ่งผิดกฎหมาย และการเงิน -ยาเสพติด -การพนัน /โลกยุคอินเทอร์เน็ต พ่อแม่จะปกป้องลูกอย่างไร/ 1. เป็นผู้ที่เรียนรู้อยู่เสมอ 2. ติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ อยู่เสมอ 3. เรียนรู้ที่จะรู้จักลูกของตนเอง สามารถที่จะป้องกันปัญหาและช่วยเหลือลูกได้อย่างทันท่วงที 4. เป็นผู้ที่ปลูกฝังความคิดและทัศนคติที่ถูกต้องให้แก่ลูก 5. เป็นผู้ที่ให้ความรักและความเอาใจใส่ห่วงใยลูกอยู่เสมอ 6. มีเวลาให้กับลูกอย่างเฉพาะเจาะจง 7. เปิดใจในการรับฟังความคิดเห็นของลูก 8. หมั่นสังเกตและเอาใจใส่ /ในสังคมปัจจุบัน เราจำเป็นต้องให้เด็กได้คุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และในขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวัง การเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ของพวกเขา ด้วยอินเทอร์เน็ตเป็นโลกที่เปี่ยมไปด้วยความเป็นไปได้ ทำให้เราสามารถขยายขอบเขตที่ครั้งหนึ่งเคยจำกัดออกไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งหากจะว่าไปแล้ว ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นช่องทางที่สำคัญที่สุดช่องทางหนึ่ง สิ่งใดที่ไม่ปรากฏบนอินเทอร์เน็ต เราจะรู้สึกราวกับว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม พึงระลึกไว้เสมอว่าอินเทอร์เน็ตเป็นโลกแห่งภยันตรายที่ผู้ให้การศึกษาและสังคม โดยทั่วไปต้องตระหนักเป็นพิเศษ*

การเติบโตของ Internet

การเติบโตของ Internet
อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่มีอัตราการเติบโตเร็วมาก จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายในอินเทอร์เน็ตในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2524 มีเพียง 213 เครื่องต่อมาในเดือนธันวาคม 2530 มีการสำรวจโดยใช้ระบบโดเมนเดิม พบว่าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายได้เพิ่มขึ้นเป็น 28,174 เครื่อง และในการสำรวจครั้งหลังสุดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายทั้งสิ้น 162,128,493 เครื่อง และอัตราการเพิ่มของจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง
อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมไปทั่วโลกซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงของเครือข่ายย่อยจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วไป เครือข่ายเหล่านี้เชื่อมเข้าหากันภายใต้กฏเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Protocol) จนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยใช้มาตราฐานการเชื่อมต่อเดียวกันทั้งหมดเรียกว่า " ทีซีพี/ไอพี " ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันทางเทคโนโลยี สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการทำให้การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการภายในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก เป็นที่รวมของการบริการ และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งระดับบุคคลและ องค์กร นอกจากนี้ยังมีการให้บริการข้อมูลและข่าวสารหลากหลายชนิดรวมถึงยังสามารถใช้งานด้านอื่นๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตลอดเวลา เช่น การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน (FTP) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ห่างไกลกัน(Telnet) การค้นหาข้อมูลข่าวสาร (Search engine) การอ่านข่าวจากทุกมุมโลก การสนทนาบนเครือข่าย และการรับบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมถึงกันโดยใช้ ทีซีพี/ไอพี และมุ่งหวังให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด

Internet คืออะไร



Internet คืออะไร ?

1. ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
 2. หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace

3. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ
สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
3. ความเร็วของสายที่ใช้
4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร